Thursday, October 7, 2010

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดตราด สถานที่สำคัญทางศาสนา


วัดสะพานหิน

วัดนี้ไม่ปรากฏว่าสร้างในสมัยใด สันนิษฐานว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 100 ปี กลางสระน้ำมีโบสถ์เก่าแก่ อยู่ห่างจากวัดประมาณ 1 กิโลเมตร มีแนวหินเชื่อมสองฝั่งคลองใช้เป็นเส้นทางคมนาคม





วัดบุปผาราม หรือเรียกอีกชื่อว่า วัดปลายคลอง

เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในจังหวัด สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ ภาพจิตรกรรม








วัดเมืองเก่าแสนตุ่ม และโบราณสถานเขาโต๊ะโมะ

วัดนี้เป็นวัดที่มีความร่มรื่น ล้อมรอบด้วยธรรมชาติ เหมาะแก่การพักผ่อน และการปฏิบัติธรรม

Wednesday, October 6, 2010

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดตราด


ส่วนที่แคบที่สุดในประเทศไทย

ตั้งอยู่บนเส้นทางสายตราด-คลองใหญ่บ้านโขดทราย หมู่ที่ 2 บ้านโขดทราย ตำบลหาดเล็ก บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 81–82 ส่วนที่แคบที่สุดมีความกว้างเพียง 450 เมตร เท่านั้น






อ่าวตาลคู่

ชายหาดอ่าวตาลคู่มีลักษณะเด่น คือ หาดทรายเป็นสีแดงละเอียด น้ำทะเลใส สามารถลงเล่นน้ำได้ เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนเพราะมีความสวยงามอากาศดี และในบริเวณมีร้านอาหาร ชาวจังหวัดตราดนิยมไปพักผ่อนในช่วงวันหยุด





เกาะกระดาด

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะหมาก มีพื้นที่ประมาณ 1,200 ไร่ ใช้เวลาเดินทางจากแหลมงอบประมาณ 2-3 ชั่วโมง

Monday, October 4, 2010

ข้อมูลทั่วไปจังหวัดตราด


เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ ระกำแสนหวาน หลังอานหมาดี ยุทธนาวีเกาะช้าง สุดทางบูรพา
ตราด เป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ เพราะเป็นที่ตั้งของเกาะที่สวยงามจำนวนมาก จนได้ชื่อว่าเป็น “เมืองเกาะครึ่งร้อย” โดยมีเกาะที่สำคัญที่สุดคือเกาะช้าง ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากเกาะภูเก็ต

นอกจากนี้ จังหวัดตราดยังมีทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ มีการคมนาคมทางถนนที่สะดวกสบาย และมีสนามบินที่มีเที่ยวบินพาณิชย์ขึ้น-ลงเป็นประจำทุกวัน ทำให้เมืองแห่งนี้มีศักยภาพในด้านการท่องเที่ยวสูง พร้อมที่จะพัฒนาไปเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญยิ่งขึ้นต่อไป

ชื่อเมืองตราดนั้น สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “กราด” ซึ่งเป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทำไม้กวาด ที่ในอดีตมีขึ้นอยู่รอบเมืองเป็นจำนวนมาก แต่พอถึงรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เมืองตราดก็มีอีกชื่อหนึ่งว่า “บ้านบางพระ” รวมทั้งมีการเรียกกันอีกชื่อว่า “เมืองทุ่งใหญ่” ดังปรากฏในทำเนียบหัวเมืองสมัยพระเจ้าปราสาททองว่าเป็นหัวเมืองชายทะเล สังกัดฝ่ายการต่างประเทศ และเกี่ยวข้องกับด้านการคลัง เนื่องจากในสมัยนั้น ตราดเป็นหนึ่งในเมืองท่าชายทะเลที่มีชัยภูมิเหมาะกับการแวะจอดเรือสินค้า บริเวณชายฝั่งทะเลของเมืองตราดจึงมีชุมชนพ่อค้าชาวจีนตั้งอยู่

ใน ช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา ตราดมีบทบาทเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาค ได้ส่งสินค้าไปขายยังต่างประเทศหลายอย่าง โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครื่องเทศต่างๆ ซึ่งล้วนหามาได้จากเขตป่าชายฝั่งทะเลในแถบนี้ทั้งสิ้น

เมื่อสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราชในขณะดำรงตำแหน่งเป็นพระยาวชิรปราการ หรือพระยาตาก ได้นำกำลังพลตีฝ่าวงล้อมพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาในสงครามเสียกรุงครั้งสุด ท้ายมาทางทิศตะวันออก ได้ทรงเลือกตราดเป็นเมืองหน้าด่านกันชน ทำหน้าที่ส่งเสบียงอาหารให้เมืองจันทบุรี อันเป็นเมืองที่ตั้งของกองกำลังกอบกู้เอกราช ก่อนเคลื่อนกองทัพออกทำสงครามกู้เอกราชจนสำเร็จ

ในสมัยพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ไทยทำศึกกับเจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งต่อมาเวียงจันทน์หันไปสวามิภักดิ์กับญวน ไทยกับญวนจึงทำสงครามกันในปี พ.ศ. 2371 โดยมีเมืองตราดเป็นแหล่งกำลังพลและเสบียงอาหาร มีการตั้งป้อมค่ายอยู่ที่บ้านแหลมหิน ปากอ่าวเมืองตรา ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประเทศฝรั่งเศสได้ส่งกองทัพเรือเข้ายึดเมืองจันทบุรีในปี พ.ศ. 2436 และคืนให้ไทยในปี พ.ศ. 2447 โดยแลกกับเมืองตราดและเกาะต่างๆ ตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด รวมทั้งเมืองปัจจันตคีรีเขตร (เกาะกง)

ต่อ มารัฐบาลไทยเห็นว่าตราดมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และพลเมืองส่วนใหญ่เป็นคนไทย ด้วยพระปรีชาสามารถทางการปกครองและการทูตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ฝรั่งเศสจึงยินยอมทำสัญญายกเมืองตราด เมืองด่านซ้าย (อยู่ในเขตจังหวัดเลย) และเกาะต่างๆ ตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูดคืนให้แก่ไทย โดยแลกกับดินแดนพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ โดยทำสัญญากันในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 ฝ่ายไทยมีพระยามหาอำมาตยาธิบดี ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระยาศรีเทพ ตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลไทย ส่วนฝ่ายฝรั่งเศสมีเมอซิเออร์รูซโซเรซิดังเป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศส ได้กระทำพิธีส่งและรับมอบดินแดนกัน ณ ศาลากลางจังหวัด และฝรั่งเศสยอมถอนกำลังทหารออกไปในเวลาต่อมา ปัจจุบันชาวเมืองตราดได้ถือเอาวันที่ 23 ของทุกปีเป็นวัน "ตราดรำลึก"

ต่อ มาวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 ในช่วงระหว่างสงครามอินโดจีน เรือรบฝรั่งเศสได้ล่วงล้ำน่านน้ำไทยในเขตจังหวัดตราด กองเรือรบราชนาวีไทยจึงได้เข้าขัดขวาง จนเกิดการยิงต่อสู้กันซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม "ยุทธนาวีที่เกาะช้าง" ครั้งนั้นฝ่ายไทยสามารถขับไล่ข้าศึกให้ล่าถอยไป และรักษาเมืองยุทธศาสตร์ที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้ไว้ได้ แต่ก็ต้องสูญเสียเรือรบหลวงไปถึง 3 ลำ คือ เรือรบหลวงสงขลา เรือรบหลวงชลบุรี และเรือรบหลวงธนบุรี รวมทั้งชีวิตทหารอีกจำนวนหนึ่ง

ปี พ.ศ. 2521 เกิดสงครามสู้รบครั้งใหญ่ในกัมพูชา ทำให้มีชาวเขมรจำนวนนับแสนหนีตายเข้ามาในเขตไทยทางเทือกเขาบรรทัด เส้นทางหลวงหมายเลข 318 ที่เริ่มจากตัวเมืองตราดเลียบขนานเทือกเขาบรรทัดและชายฝั่งทะเลสู่อำเภอคลอง ใหญ่ กลายเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สายสำคัญ และเมื่อสงครามสงบลงในปี พ.ศ. 2529 เส้นทางสายนี้ก็ได้แปรเปลี่ยนเป็นเส้นทางการค้าระหว่างชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณตลาดหาดเล็กที่สุดเขตชายแดนไทย และเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางต่อไปยังเกาะกง

ปัจจุบันจังหวัดตราดแบ่งเขตการปกครองออกเป็น7 อำเภอ เช่น อำเภอเมืองตราด อำเภอคลองใหญ่ อำเภอแหลมงอบ อำเภอเกาะกูด อำเภอเกาะช้าง ฯลฯ